* สก๊อตวิสกี้ น้ำอมฤตบนเกาะอังกฤษ *
กำเนิดสก๊อตวิสกี้
สก๊อตวิสกี้ (Scotch Whisky) เป็นสุราอหังการที่มีชื่อเสียงเรียงนามระบือลั่นก้องไปทั่วโลก มันไม่เพียงแต่มีสำคัญในด้านเศรษฐกิจต่อสก๊อตแลนด์เท่านั้นแต่ยังมีความหมายอย่างยิ่งยวด สำหรับประเทศสหราชอาณาจักรอีกด้วย อุตสาหกรรมการผลิตสก๊อตวิสกี้ ได้กำเนิดบนที่ราบสูงของสก๊อตแลนด์มาช้านาน และวิวัฒนาการหลักลงฐานมาจนถึงปัจจุบันอย่างมั่นคงอาจจะกล่าวได้ว่า สก๊อตวิสกี้สามารถวางตัวเป็นนักเลงขนาดเบิ้มยึดตลาดสุราในโลกนี้เป็นส่วนใหญ่ คำว่า Whisky เป็นรากศัพท์มาจากคำว่า Uisge beatha (ยูธ บีทธา) ซึ่งเป็นภาษา Gaelic (ภาษาแกลลิก) ที่เก่าแก่ภาษาแกลลิกเป็นภาษาที่ชาวเซลท์ (Celt) ในสก๊อตแลนด์ภาคเหนือใช้พูดกันซึ่ง มีความหมายแปลว่า "น้ำอมฤตแห่งชีวิต"
กำเนิดของสก๊อตวิสกี้มาจากพระในศาสนาคริสต์โดยพระในชนบทของประเทศอังกฤษแต่เก่าก่อน พระคุณท่านมิเพียงแต่จะเชี่ยวชาญหลักแหลมในหลักธรรมอย่างแตกฉานเท่านันแต่ยังเป็นเอกทัคคะ ในการต้มเหล้าเถื่อนอีกด้วย แต่สุราดังกล่าวก็แพร่หลายอยู่แต่ในชนบทเท่านั้นชาวเมืองและชาววังส่วนใหญ่ยังสนใจแต่เหล้าไวน์ กล่าวกันว่าสก๊อตวิสกี้เริ่มมีการหมักกลั่นด้วยระบบเครื่องกลั่นทันสมัยโดยนักอุตสาหกรรมมืออาชีพตั้งแต่ปี ค.ศ.1494 ทางภาคเหนือของสก๊อตแลนด์ แถบถิ่นที่ถูกเรียกขานว่า "ไอท์แลนด์" และเริ่มมีการเก็บภาษีสรรพสามิตเกี่ยวกับสก๊อตวิสกี้ในปี ค.ศ. 1944
ประเภทของสก๊อตวิสกี้
สก๊อตวิสกี้แท้ที่เป็นเหล้าหลักจริงมีเพียง 2 ประเภทคือ
Malt Whisky (มอล์ทวิสกี้) เป็นวิสกี้สก๊อตที่หมักกลั่นจากวัตถุดิบประเภทข้าวบาร์เลย์ที่ถูกเพาะเป็น มอล์ทล้วน ๆ และถูกปรุงแต่งด้วยหัวเชื้อคอนเซนเตรต (Concentrate)
Grain Whisky (เกรนวิสกี้) เป็นสก๊อตวิสกี้ที่หมักกลั่นจากวัตถุดิบประเภทข้าวบาร์เลย์ที่เพาะเป็นมอล์ทส่วนหนึ่งนำ ไปผสมกับธัญญพืชอื่น ๆ
การทำสก๊อตวิสกี้
การทำสก๊อตวิสกี้ขั้นตอนในการผลิตก็เป็นไปตามลำดับขั้นตอนดังนี้
การเพาะมอล์ท (Malting) คือขั้นตอนการนำข้าวบาร์เล่ย์ปเพาะให้งอกเป็นมอล์ท
การบด การคลุก (Mashing) เป็นขั้นตอนต่อจากขั้นตอนที่ 1 โดยนำข้าวมอล์ทที่เพาะได้ไปทำการบดคลุก เพื่อผสมกับสัดส่วนวัตถุดิบอื่น ๆ ให้เข้ากัน
การหมัก (Fermentation) ขั้นตอนนี้แบ่งออกเป็น 2 วิธีการคือ
- วิธีใช้กรดบังคับการแปรธาตุ แล้วใช้เชื้อช่วย
- แบบใช้มอล์ทโดยอาศัยน้ำย่อยบังคับการแปรธาตุแล้ว ใช้เชื้อโมลด์
- ช่วยการหมักนี้เชื้อที่นำไปหมักจะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลและ จากน้ำตาล
เป็นแอลกอฮอล์
การกลั่น (Distillation) การกลั่นมี 2 แบบ คือการกลั่นครั้งเดียวต่อเนื่องออกมาเป็นสุราดีกรีสูง (Continuous Still) และการกลั่นแบบสองครั้ง หรือแบบกลั่นทับ (Pot Still) การกลั่นเกรนวิสกี้จะใช้แบบต่อเนื่องหรือแบบทับก็ได้ แต่การกลั่นวิสกี้มอล์ทต้องใช้แบบกลั่นทับ หรือกลั่นแบบสองครั้ง เพื่อจะสงวนกลิ่นรสของข้าวมอล์ทไว้ การเก็บบ่ม (Ageing) หลักจากกลั่นแล้ว ก็ต้องทำน้ำเหล้าให้เหลือ 45-68 ดีกรีเพื่อนำไปเก็บบ่มในถังไม้โอ๊ก ซึ่งเนื้อไม้ในถังได้ถูกย่างไฟเป็นที่เรียบร้อยแล้วการเก็บบ่มในถังไม้โอ๊กนี้ จะทำให้น้ำเหล้ามีรสหอมและกลิ่นควันไฟจาง ๆ
การปรุงแต่ง ๆ (Blending) ถึอเป็นขั้นตอนที่สำคัญสุดยอดตอนหนึ่งของการผลิตเหล้า การปรุงเหล้าถือว่าเป็นศิลปะที่ล้ำลึกนักปรุงแต่งจะเฟ้นเหล้าที่เก็บบ่มได้คุณภาพมาผสมกันตามสัดส่วน เข้ากับหัวเชื้อต่าง ๆ ผู้ปรุงแต่งล้วนมีความช่ำชองในการคัดเลือกสุรามอล์ทสุราเกรนที่จะนำมาคละเคล้า โดยไม่เคยมีใครยอมเปิดเผยสัดส่วนของการผสมให้ใครได้รู้
การบรรจุ ( Bottled) เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อยที่จะนำเหล้าออกจำหน่ายซึ่งต้องอาศัยความสะอาดน้ำเหล้าที่บรรจุขวด เหล้าแล้วจะไม่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงคุณภาพให้เป็นอื่นใดอีก
เหล้าทั้งสองประเภทของสก๊อตมอล์ทวิสกี้ได้ชื่อว่าเป็นเหล้าที่ดีเลิศ เหนือชั้นกว่าเกรนวิสกี้ เพราะมีความละเมียดละไมกลมกล่อมกว่าเชื่อกันว่าแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไหล ซึมผ่านลำเนาไพรและผ่านชะง่อนหินหลืบซอกที่อุดมด้วยแร่ธาตุล้วนมีส่วน อย่างมากที่บันดาลให้สก๊อตวิสกี้ทั้งสองเด่นผงาดเหนือวิสกี้อื่นใดในโลก ส่วนวิทยาการสมัยใหม่ในการหมักกลั่นเป็นเพียงองค์ประกอบที่เสริม ความละเมืยดละไมของเหล้าดังกล่าว
สก๊อตวิสกี้เมื่อหมักกลั่นและเก็บบ่มแล้วก่อนจะบรรจุขวดขายอย่างน้อย ต้องเก็บบ่ม 3 ปีขึ้น ไปถึง 5 ปี แต่การทำวิสกี้ใน ประเทศอื่น ๆ หลายแห่งได้มีกฏหมายของประเทศนั้น ๆ บังคับให้เก็บบ่มสุราที่จะทำวิสกี้ไว้ในถังไม้โอ๊กตั้งแต่ 3 ปี ถึง 5 ปี ซึ่งเป็นการกำหนดอายุของน้ำเหล้าที่เก็บบ่มให้เหมาะสมไม่อ่อน หรือแก่เกินไปแต่จำเพาะมอล์ทวิสกี้ ตำรายืนยันว่าควรเก็บบ่มตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และไม่มีกำหนดอายุความแก่ ยิ่งเก็บบ่มนานเท่าใดก็ยิ่งดีรสเหล้าเท่านั้น