เหล้ารัม เป็นสุรากลั่นตระกูลหนึ่งที่มีชื่อเสียงลือลั่น ไม่แพ้ เหล้ากลั่นชั้นยอดเยี่ยมตระกูล อื่นใดในโลก แต่คำว่า " เหล้ารัม " ดูเหมือนจะ ยังไม่เป็นที่คุ้นหูคุ้นตาของนักดื่มชาวไทยมากนัก เมื่อเอ่ยถึงเหล้ารัม ขออย่าได้รีบผลีผลามคิดเลยเถิดไปว่าเป็นเหล้าที่ทำมาจากรำข้าวที่มีไว้ เลี้ยงหมูอย่างเด็ดขาด เพราะว่าคำว่า "รัม" ในที่นี่แปลทับศัพท์ มาจากคำภาษาอังกฤษที่ใช้ คำว่า "RUM"
กำเนิดเหล้ารัม
เหล้ารัม เป็นสุรากลั่นที่ผลิตจากวัตถุดิบจำพวกน้ำอ้อย น้ำเชื่อมของน้ำผลไม้และกากน้ำตาลแหล่งกำเนิดของเหล้ารัม อยู่ทางหมู่เกาะอินเดียตะวันตก ประเทศในแถบทะเลคาริบเบี้ยน อาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสในทวีปอเมริกาใต้ รัฐที่มีชื่อเสียงในการผลิตสุรารัมเหล่านั้นคือ เปอโตริกา, คิวบา, เดเมอรารา, บาร์บาโดส, ทรินิแดด,ไฮติ, แซนโตโดมิงโก, จาไมก้า, กีอานาของอังกฤษ และ กีอานาของฝรั่งเศส เหล้ารัมที่มีชื่อเสียงล้วนหมักกลั่นและขนย้ายไปจากภูมิภาคแถบถิ่นนี้แทบทั้งสิ้น
กำเนิดรัม ได้มีผู้บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของเหล้าว่ามาจากพวกอินเดียนแดง ซึ่งเป็นชาวพื้นฐานในหมู่เกาะอินเดียตะวันตกโดยพวกพ่อหมอผีทำน้ำเชื่อมผลไม้ ให้เป็นเหล้าซึ่งหมักกลั่นจากน้ำศักดิ์สิทธิ์บนภูเขาสูง เพื่อไว้ดื่มกินในวันสำคัญ เมื่อคราวคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสได้กางเรือใบท่องไปสู่โลกกล้างเป็นครั้งที่ 2 ก็ได้มีโอกาสลิ้มลองเหล้ารัมของพวกอินเดียนแดงดังกล่าวที่เมืองอโซเรส (Azores) บนเกาะ (Barbados) ในปี ค.ศ.1600 นั้นเป็นครั้งแรกที่ชาวตะวันตกรู้จักเหล้ารัม
กรรมวิธีการผลิตเหล้ารัม
เหล้ารัมเป็นสุรากลั่นที่ทำจากน้ำอ้อย กากน้ำตาล หรือน้ำเชื่อมของผลไม้รสชาติของเหล้ารัมจากแหล่งผลิต แต่ละแห่งก็ผิดเพี้ยนแตกต่างกันออกไปสาเหตุก็มาจากวัตถุดิบ กรรมวิธีและขั้นตอนในการผลิตกรรมวิธีของการผลิตเหล้ารัมหลักใหญ่มีแตกแขนงออกไป 2 กรรมวิธี คือ ชนิดตามกรรมวิธีของจาไมก้า (Jamaica) และชนิดตามกรรมวิธีของเดเมอรารา (Demerara)
กรรมวิธีของจาไมก้า
ใช้น้ำเชื่อมหรือกากน้ำตาลของอ้อยเป็นวัตถุดิบหลัก และผสมด้วยฟองน้ำได้จากทำน้ำตาลการที่ต้องใช้วัตถุดิบทั้งสามชนิด คือกากน้ำตาล ฟองน้ำตาล และ กากน้ำส่ามาผสมคละเคล้าและหมักให้เกิดแอลกอฮอล์ ช้า ๆ โดยใช้เชื้อยีสต์ชนิดพิเศษจุดประสงค์ก็เพื่อทำให้สุรามีรสนุ่มนวล เฉียบขาดและเร้ารึงใจอย่างประหลาดเป็นความรู้สึกที่ยาก แก่การบรรยายออกมาเป็นตัวหนังสือได้
กรรมวิธีการทำรัมของเดเมอรารา
ใช้กากน้ำตาลทรายละลายน้ำ นั้นเป็น 2 กรรมวิธีหลักที่ผู้ผลิตรัมเลือกปฎิบัติ
สุรารัมเมื่อกลั่นเสร็จแล้ว ก็จะต้องมาลดดีกรีให้เหลือ 45 - 60 ดีกรี เพื่อนำไปเก็บบ่มใน ถังไม้โอ๊กเมื่อเก็บบ่มไว้นาน ๆ ก็จะมีสีเหลืองอ่อน ๆ หรือมีสีเหลืองแก่ซึ่งเกิดจากภาชนะที่เก็บบ่มสุราแต่ก็ไม่มี หลักเกณฑ์ตายตัวว่า "สุรารัมต้องเก็บบ่มในถังไม้โอ๊กเสมอไปไม่เหมือนกับการผลิตวิสกี้และบรั่นดี รัมนั้นได้ชื่อว่าเป็นเหล้าประจำวันของราชนาวีอังกฤษ ลูกประดู่เมืองวิสกี้ทุกคนถือคติประจำใจว่า "ไม่อยากเมาคลื่นจะต้อง เมารัมเข้าไว้" ในปี พ.ศ.1609 เรืออังกฤษลำหนึ่งมีเซอร์จอห์น ซัมเมอร์ เป็น กัปตันพบพายุเฮอริเคนที่เกาะเมอร์มูดาจนลูกเรือ เมาคลื่นตาม ๆ กันแต่เมื่อดื่มเหล้ารัมแทนน้ำก็สามารถพาเรือกลับอังกฤษได้คราวนั้นหมด เหล้ารัมเป็นพัน ๆ แกลลอนส์และเป็น ธรรมเนียมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาว่าเลือดประดู่ทั้งหลายต้องดื่มเหล้ารัม