ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
bulletเรียนการทำค็อกเทล
dot
dot
dot
dot
dot

dot
bulletเรียนการทำค็อกเทล




ดื่มอย่างรับผิดชอบ article

           เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่อยู่คู่กับวัฒนธรรมของมนุษย์มาช้านาน มีการใช้แอลกอฮอล์เพื่อการสันทนาการต่างๆมากมาย มีปัญหาเกี่ยวกับการแอลกอฮอล์ที่คนหลายคนตั้งคำถามกันแต่อาจจะไม่มีคนตอบ ดังนั้นวันนี้เราจะมาดูเรื่องราวข้อสงสัยเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กัน
 
1. ทำไมบางคนดื่มแล้วตัวแดงหน้าแดง
ปกติแล้วเวลาเราดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปในร่างกายแล้ว ร่างกายจะเปลี่ยนแอลกอฮอล์ให้ไปเป็นสารที่ใช้ในวงจรสร้างพลังงาน ในขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงนั้นจะมีช่วงหนึ่งซึ่งสร้างสารที่ชื่อว่าแอลดีไฮด์ ซึ่งมีพิษต่อร่างกายได้ ... ในคนปกติ ร่างกายจะมีเอนไซม์ที่ชื่อว่า aldehyde dehydrogenase ทำหน้าที่เปลี่ยนสารแอลดีไฮด์ให้กลายเป็นสารอื่นต่อไป ... ซึ่งในคนเชื้อชาติทางด้านเอเชีย จะมีบางส่วน(50%)ซึ่งมีพันธุกรรมที่กำหนดการสร้างเอนไซม์ตัวนี้น้อยกว่าปกติ ดังนั้นเมื่อกินเหล้าเข้าไป เหล้าจะเปลี่ยนไปเป็นพลังงานได้ช้ากว่าโดยไปเกิดการคั่งของสารกลุ่มแอลดีไฮด์นี้
สารแอลดีไฮด์จะทำให้เกิดอาการต่างๆคือ คลื่นไส้อาเจียน เวียนหัว ปวดหัว อาการบวมและคันตามตัว หลอดเลือดขยายตัว หน้าแดงมือแดงได้
ถ้าเข้าใจผิดจะคิดว่าเมาง่าย จริงๆคนที่เกิดอาการนี้ไม่จำเป็นต้องเมาครับ และกลไกนี้เป็นหนึ่งในเรื่องอาการแฮงค์ครับ
 
 
2. อาการแฮงค์คืออะไร
อาการแฮงค์ คืออาการมึนงงปวดหัวคลื่นไส้อาเจียนหลังจากที่ฤทธิ์ของเหล้าที่ดื่มหมดไปแล้ว ... อาการที่ว่านี้เชื่อว่าเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกันได้แก่ การขาดน้ำ + การคั่งของสารแอลดีไฮด์ + น้ำตาลต่ำ ไปทำให้เกิดกลุ่มอาการดังกล่าวครับ
เพื่อให้ง่ายเข้า ผมทำเป็นแผนภาพให้ดูกัน
 
3. กินแค่ไหนจึงจะไม่โดนตำรวจจับ
ในประเทศไทย กฎหมายตั้งเกณฑ์ไว้ที่50mg% ดังนั้นเป้าคือกินอย่างไรไม่ให้เกิด50mg% ... มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2550 ในวารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ เกี่ยวกับการทดลองโดยให้อาสาสมัครดื่มเหล้า(+กับแกล้มหรืออาหาร)และตรวจเลือด ซึ่งพบว่าการดื่มเหล้าเกิน1ดริงค์ต่อชั่วโมง ก็เสี่ยงต่อการมีระดับแอลกอฮอล์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้ว (1ดริงค์ = เหล้า40ดีกรี 40ซีซี /หรือเบียร์ 275 ซีซี)
ถ้าพูดเป็นภาษาเข้าใจง่ายขึ้นก็คือ ถ้าคุณไปเที่ยวแล้วกินเหล้าสัก6-7 ฝา หรือ กินเบียร์1กระป๋อง จากนั้นก็ขับรถมาเจอด่านตรวจ คุณก็มีโอกาสที่จะโดนจับครับ
ทั้งนี้ในงานวิจัยพบว่า การกินกับแกล้มก็ไม่ได้ช่วยอะไร ถ้าจะให้ช่วยจริงๆต้องกินเป็นอาหารมื้อหนักๆไปเลยจึงจะพอช่วยลดการดูดซึมได้บ้าง
(ถามจริงๆครับ ไปเที่ยวข้างนอกมีใครกินน้อยขนาดนั้นรึเปล่า)
4. กินยังไงไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
หลายคนที่เจอจับอาจจะงงว่าตนเองยังไม่เมาเลย ทำไมโดนจับ เรื่องของเรื่องคือกลไกการเกิดอุบัติเหตุของคนที่ดื่มเหล้าเกิดจากการตัดสินใจช้าไปเพียงเสี้ยววินาทีครับ เกิดได้ตั้งแต่ปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดน้อยที่ระดับ 10mg% ขึ้นไป ... ปริมาณระดับนี้ไม่สามารถตรวจด้วยวิธีปกติได้ แต่สามารถตรวจได้จากการวัดความเร็วการตอบสนองของร่างกายครับ
นั่นหมายความว่า คุณเสียความสามารถในการตอบสนองไปแล้ว โดยที่ยังไม่รู้สึกมึนด้วยซ้ำ
5. มียาแก้เมาค้างหรือไม่
การแก้อาการเมาค้างในปัจจุบันยังใช้วิธีแบบตรงไปตรงมาคือ อย่าดื่มมากเกิน อย่าดื่มเร็วเกิน ดื่มน้ำบ่อยๆ เลือกชนิดเหล้า(เหล้าบางชนิดจะมีสารเคมีที่ทำให้เมาค้างได้ง่าย ต้องหาเอา ขึ้นกับแต่ละคน)ส่วนถ้าไปดูตามวงเหล้า หรือตามโฆษณาต่างๆ จะมีการพูดถึงยา, สมุนไพร, อาหารเสริม ที่ช่วงแก้อาการเมาค้าง ... แต่ถ้าว่ากันจริงๆตามงานวิจัย ยังไม่มียาที่ใช้แก้อาการเมาค้างที่ได้ผลชัดเจนทางวิทยาศาสตร์ครับ
ดังนั้นถ้าจะหาซื้อยาหรือผลิตภัณฑ์ใดๆมา ก็ไม่ต้องซีเรียสครับ ซื้อตามกำลังทรัพย์และความพึงพอใจเอา
6. การดื่มเพื่อสุขภาพ
มีงานวิจัยที่ออกมาบอกว่าการดื่มแอลกฮอล์อาจจะมีส่วนช่วยเรื่องสุขภาพได้ ทั้งนี้ต้องดื่มแต่พอดีครับ คำว่าดื่มแต่พอดีก็คือ การดื่มประมาณวันละ 1 ดริงค์
เทียบเท่าเบียร์ค่อนกระป๋อง / ไวน์ปริมาณ1ขวดกระทิงแดง / หรือเหล้าหนึ่งเป๊ก ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการดื่มในระดับที่ไม่รู้สึกอะไร หรืออย่างมากก็กรึ่มเพียงเล็กน้อยครับ ...
ดังนั้นการดื่มเพื่อสันทนาการ ดื่มแบบเฮฮา หรือดื่มแบบสนุกครื้นเครง ล้วนเกินพอดีครับ โทษมากกว่าประโยชน์ชัดเจน
อนึ่ง ฝรั่งเค้าก็ใช้คำว่า Moderation หรือ Moderate drinking ซึ่งแปลตรงตัวว่า “ดื่มแต่พอดี” เช่นกัน
 
 
ไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือโทษอย่างไรก็ตามเราสามารถเลือกในการบริโภคได้ ทุกอย่างอยู่ที่ตัวคุณจะเลือกครับ
 1. http://en.wikipedia.org/wiki/Alcohol_flush_reaction
2. http://en.wikipedia.org/wiki/Hangover
3. Lekskulchai V, Rattanawibool S . Blood Alcohol Concentrations after“One Standard Drink”in Thai Healthy Volunteers J Med Assoc Thai 2007; 90 (6): 1137-42
4. Max H Pittler, et al.Interventions for preventing or treating alcohol hangover: systematic review of randomised controlled trials BMJ 2005;331:1515-1518



กระดานข่าว

มารู้จักสาโทกันเถอะ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

แลกลิงค์          |         สมัครงาน         |          ข้อกำหนดและเงื่อนไข       |         แผนผังเว็บไซต

Copyright © 2009 All Rights Reserved.

chaopraya.biz tel. (662) 908 9782